ผู้เขียน หัวข้อ: “อิน บูโดกัน” เขาหาว่าเธอแรง! แค่เป็นคนพูดตรง..ทำจริง - คนดังหลังฉาก  (อ่าน 582 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ RobotNew

  • Moderator
  • *****
  • กระทู้: 3411
  • Level:
    0%
  • Thank : 0
    • ดูรายละเอียด
    • สะกิดข่าว
    • อีเมล์

 เพราะความชื่นชอบที่จะทำงานหลายๆ ด้าน ทำให้นักร้องเสียงดี “อินทิรา ยืนยง” หรือที่ใครหลายคนรู้จักในนาม “อิน บูโดกัน” ล่าสุดโดดร่วมงานแสดงอย่างเต็มตัว ในละครเรื่อง “คุณแม่เฉพาะหน้า คุณย่าเฉพาะกิจ” ของผู้จัด “วุธ-อัษฏาวุธ เหลืองสุนทร” แห่งค่ายดูมันดี ที่เจ้าตัวบอกว่า ศาสตร์ด้านการแสดง ยากมาก ดีที่ว่าได้ครูอย่าง “หนุ่มวุธ” ช่วยเทรนด์ พร้อมออกปากว่าถ้ามีผู้จัดฯ คนไหนสนใจให้เธอไปร่วมงานด้วย เธอก็ยินดีค่ะ!! ณ เวลานี้ อิน บูโดกัน เธอสวมหมวกอยู่หลายใบทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นนักร้อง นักแสดง คอมเม้นท์เตเตอร์ แต่ในขณะเดียวกัน เธอก็สวมบทเป็น “ครู” ในชีวิตจริง ทั้งครูสอนร้องเพลง และครูสอนดนตรี เรียกได้ว่ามีความเป็นครูตั้งแต่ยังเรียนไม่จบปริญญาตรีด้วยซ้ำ มาอัพเดทเรื่องราวในชีวิตของเธอแบบรอบด้าน รวมทั้งบทสรุปในชีวิตและความสุขในสไตล์ของอิน บูโดกัน   เป็นอย่างไรเอ่ย- ฟีดแบ๊กละคร “คุณแม่เฉพาะหน้าฯ” เป็นอย่างไร “ก็ดีนะ ยามหน้าหมู่บ้านเรียก พี่ฟอง..พี่ฟอง..ไม่เรียก คุณอิน แล้วนะ เรียกพี่ฟอง ละครเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สามแล้ว วิวาห์...ฮาเฮ, กู้ภัยหัวใจแหวว และเรื่องนี้ของพี่วุธ (อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร) หมดเลย ก็ยังไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นนักแสดงนะ แค่รู้สึกว่าทำหน้าที่ของตัวเอง เพราะภาพเราจะเป็นนักร้องมากกว่านักแสดง เพราะว่าการแสดงไม่ได้แบบว่าจะบูมมากสำหรับเรา หรือมีคนเห็นเยอะมากมายเท่ากับร้องเพลง แต่ถ้ามีผู้จัดฯ คนไหนติดต่อ เห็นว่าเล่นได้ก็รับหมดนะ เอาหมดเลย ชัดเจนมาก ฮะ..ฮะ..ฮ่า” ในฐานะนักร้อง รู้สึกอย่างไรกับศาสตร์ของการแสดง “ยากนะ รู้สึกว่ายาก แต่ว่าก็มีผู้ช่วยผู้กำกับฯ ผู้กำกับฯ คอยบอก คอยสอนอีกที ที่รู้สึกว่ายากคือการรีแอ็ค แอ็คติ้งไม่ยาก แต่รีแอ็คกับคนอื่นค่อนข้างยาก กับมุมกล้องที่ค่อนข้างจะมีปัญหา พอมาถึงเรื่องนี้ค่อนข้างจะแก้เรื่องมุมกล้องได้ กล้องเห็นเรา เราเห็นกล้องนะ” เล่นกับ “อู๊ด เป็นต่อ” ยากมั้ย? (เขามีลูกเล่นตลอด) “ก็สนุกนะ คิดว่าตัวเองเป็นคนสนุกๆ อยู่แล้ว เล่นกับพี่อู๊ด ยิ่งสบายใจใหญ่เลย พี่อู๊ดจะสอนตลอด สอนทุกอย่าง เพราะพี่อู๊ดจะสอนให้เราเชื่อ อย่างเล่นเป็นสามีภรรยากัน เราก็ต้องเชื่อว่าเราเป็นสามีภรรยากันจริงๆ ก็เลยไม่รู้สึกว่าต้องเกร็งหรือเขิน ไม่เขินเลย สิ่งที่ได้จากพี่อู๊ด คือได้จังหวะการแสดง พี่อู๊ดจังหวะดีมาก แกช่วยสอนได้เยอะมาก เราก็จำที่แกสอนไว้ใช้กับละครเรื่องอื่นๆ” ร่วมงานกับ“วุธ-อัษฎาวุธ” ในฐานะผู้กำกับฯ เป็นอย่างไรบ้างค่ะ “เขาใจดี พี่วุธก็จะแบบ ถ้าสงสัย ไม่รู้ ต้องถาม อย่าเก็บไว้ พอถึงเวลาเล่นจริงๆ เล่นไม่ได้ แล้วจะมาอ้างว่า อ้าว...แล้วทำไมไม่ถาม ก็รู้สึกว่าพี่วุธ เหมือนครูในเรื่องการแสดงละคร ส่วนใหญ่ไม่ค่อยโดนพี่วุธดุนะ พยายามรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเอง นอกจากว่าไม่เข้าใจ คือ เล่นไม่ได้เพราะไม่เข้าใจ แกก็จะมาช่วยย้ำ พี่วุธ เป็นคนเก่ง เก่งยังไงก็เก่งอย่างนั้น เคยเห็นตอนเด็กๆ ที่แกเล่น มีความรู้สึกว่าแกเก่ง แกเป็นมืออาชีพ แต่ที่เป็นห่วงคือ แกเหนื่อยไง ห่วงเรื่องเหนื่อย แกแสดงหลายตัวจัด เป็นผู้จัดฯ ผู้กำกับฯ ด้วย เห็นแกเหนื่อย พยายามไม่ไปสร้างความเหนื่อยให้แกมากขึ้น รับผิดชอบหน้าที่ตัวเอง ซึ่งตัวเองได้มาหมดนะจากพี่วุธ ไม่ว่าจะเป็นมุมกล้อง การแสดง แอ็คติ้ง ทุกสิ่งทุกอย่างได้มาหมด” ได้ยินว่า เร็วๆนี้จะมีผลงานเพลงชุดใหม่ “ใช่ค่ะ ตอนนี้รอแผ่นโปรโมทซิงเกิ้ล 2 เพลง มีเพลงละลาย กับ ใจนักเลง ก็ได้ลิขสิทธิ์จากค่ายคีตามา มาทำใหม่ในสไตล์ของ บูโดกัน (อิน เสริม แป้ง หนิง) เพื่อนๆ ก็กลับมาเกือบครบ ขาดมือเบสคนเดียว เราหายไป 7 ปี ที่เรากลับมาทำอาจจะเป็นโค้งสุดท้าย หรือครั้งสุดท้ายที่มีการรวมตัว เพราะว่าแต่ละคนก็โตมากแล้ว มีเส้นทางของตัวเอง กว่าจะนัดคิวมาหนึ่งวันที่จะมาซ้อมเพลง ก็ยากอยู่แล้ว ก็คิดกัน เอาวะ...โค้งสุดท้ายแล้ว แล้วเราก็ทำกันเอง ถือว่าตอนนี้ บูโดกัน เป็นอินดี้ไปแล้ว คือทำกันเอง แล้วก็มีพี่ๆ มาช่วยกันทำเพลง”  ทำไมถึงหยิบเพลงเก่ามาทำ “หนึ่ง.. ประหยัดเวลา สอง.. เป็นเพลงที่เราและคนอื่นๆ คุ้นเคยอยู่แล้ว และเราก็ได้ลิขสิทธิ์มา เราทำทั้งหมด 10 เพลง เอามาทำเป็นอัลบั้ม จริงๆ เราร้องไปร้อยกว่าเพลงนะ ร้องเพลงเก่าของนิธิทัศน์, วงเพื่อน แล้วก็เป็น 4 เพลงที่เรารู้สึกว่ามันใช่เรา เพลงโปรโมทคือ ใจนักเลง และละลาย ส่วนอีกสองเพลงขออุบไว้ก่อน เชื่อว่าคนฟังจะชอบ ก็คาดว่าจะโปรโมทเร็วๆ นี้” ในส่วนของความเป็น “ครู” ล่ะ “ก็เป็นครูสอนดนตรี สอนร้องเพลง คือสอนหมดเกี่ยวกับเพลง หรือดนตรี มันเริ่มต้นมาจากเรียนจบครุศาสตร์ ดนตรีสากลที่มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา ก็มีความเป็นครูมาแล้ว จริงๆ อินสอนมาตลอดนะ สอนตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเห็นภาพนั้นของอิน เพราะว่าเราไม่สอนในแบบวงกว้างหรือสอนแบบสาธารณะชน เราสอนอยู่ที่บ้าน ไปตามบ้านเด็กบ้าง จนออกเทปหยุดสอนไปแปปนึง แต่พอว่างจากการออกเทปเราก็ไปสอนต่อ” แสดงว่ามีความเป็นครูสูงมาก “ ถ้าในพาร์ทที่อินเป็นครูสอนดนตรีก็จะอีกฟิวส์นึงเลยนะ ตั้งแต่สอนมาก็มีลูกศิษย์เยอะมาก เริ่มสอนดนตรีมาตั้งแต่ปี 2535 สอนร้อง สอนเปียโน ไปช่วยฝึกสอนโยธวาทิตก็สอน ก็มีความภาคภูมิใจในความเป็นครูมาก เพราะบางทีความเป็นครู งานบุญเราก็สอน งาน ทู บี นัมเบอร์ วัน ไปช่วยพระองค์หญิง (เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ฯ) เราก็สอน สอนเป็นร้อยเป็นพันคน เรารู้สึกภาคภูมิใจอีกแบบ นอกเหนือความเป็นศิลปินที่มีความภาคภูมิใจเต็มๆ ของเราอยู่แล้ว แต่ความภาคภูมิใจในความเป็นครูเนี่ย...เรามองลูกศิษย์ประสบความสำเร็จเราก็รู้สึกอีกแบบหนึ่ง ความรู้สึกมันต่างกัน ท้ายสุดเราเลิกออกเทปเราก็ยังมีความเป็นครูอยู่ได้ยันแก่ ความภาคภูมิใจที่ได้เป็นครูอยู่ตรงไหน? “ความภาคภูมิใจในความเป็นครูของเราไม่ได้อยู่ตรงที่ ลูกศิษย์ได้รางวัล หรือได้ที่หนึ่งอะไรนะ เรามองแค่ว่า ถ้าเขาได้รางวัล เออ...คนนี้คือลูกศิษย์เรา ก็ดีใจกับมันว่ะ ไม่ได้มีใครเต็งหนึ่งในใจ เสมอภาคกันหมด ก็ชุ่มฉ่ำหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นเด็กเอเอฟ เด็กมาสเตอร์คีย์ ส่วนใหญ่ที่รู้สึกดีใจ ไม่ใช่ว่าเขาได้ถ้วยหรือได้เหรียญจากการประกวด แต่จะภูมิใจตรงที่เขาเปลี่ยนตัวเองได้มากกว่า เช่น จากเด็กเกเรกลายเป็นเด็กที่เลิกเกเรเลิกดื้อ มันจะรู้สึกว่าดนตรีมันช่วยอะไรไว้ได้มากกว่าที่ทุกคนเห็นว่าเรียนมาเทรนด์เพื่อไปประกวด ได้ถ้วยหรือรับเงินมา จริงๆ มันมากกว่านั้น เหมือนแบบว่าถ้ามันเรียนตั้งแต่เด็ก 6-7 ขวบ มันก็เปลี่ยนวิธีคิด รอยหยักในสมองก็เพิ่มมากขึ้น สมาธิก็สูงขึ้น มันได้มากกว่าที่ทุกคนมองเห็น” มองเป้าหมายเส้นทางของการเป็นครูไว้อย่างไร “จริงๆ เปิดสถาบันสอนดนตรีมาสามรอบแล้ว จัดงานแถลงข่าวเปิดโรงเรียนเป็นจริงเป็นจังใหญ่โตมโหฬาร โดนพิษเศรษฐกิจฟองสบู่ไปรอบนึง โดนขึ้นค่าเช่าไปรอบนึง ก็เลยเพลียใจ อีกอย่างการทำธุรกิจของเราที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารหรือสถาบันสอนดนตรี มีหุ้นส่วนหมด ทำให้เราเรียนรู้ว่า ถ้าทำอะไรคนเดียวได้โดยไม่ต้องมีหุ้น ทำคนเดียวดีกว่า ตอนนี้ก็เปิดห้องเล็กๆ ที่บิ๊กซี ลาดพร้าว โซนอิมพีเรียล ลาดพร้าวชั้น 7 โซนโบว์ลิ่งเป็นห้องเล็กๆ นัดกันก็ไปเรียนกัน ก็เหมือนบ้าน ก็นัดกันเล็กๆไปเรียนกัน ย้ายจากบ้านไปที่ห้องนี้แหละ จะเรียกว่า โฮม สคูล มิวสิค ก็ได้นะ แต่ทำเอง ทำคนเดียว แฮปปี้กว่า” ดูเป็นคนสวมหมวกหลายใบ ทั้งนักร้อง นักแสดง และความเป็นครู แต่ก็มีหมวกอีกใบคือ คอมเม้นท์เตเตอร์ ที่ค่อนข้างชัดเจนเหมือนกัน “อินเป็นคนตรงนะ คอมเม้นท์เตเตอร์ เขามีไว้ติเพื่อก่อ จริงๆ มันเป็นแบบนั้น แต่ส่วนใหญ่เห็นแบบนั้น ฟังแบบนั้น แต่พูดไปอีกแบบ แต่เราเป็นคนที่แบบเห็นแบบนี้ก็พูดแบบนี้ ถ้าเราโดนเตี๊ยม เราก็จะไม่แฮปปี้ละ เราไม่เอา เราถอนตัวเลย เราชัดเจน มันไม่ดีเราก็ต้องบอกว่าไม่ดี ด้วยความที่เราเป็นครูไง ครูมีหลายประเภทนะครูสอนเก่ง แต่ร้องไม่เก่ง ครูร้องเก่ง สอนเก่ง คือมีหลายแบบ บางทีทั่วไปก็ไม่ได้แยกพาร์ทกัน บางทีเขาก็แบบ “คอมเม้นท์ฯ ซอฟท์ๆ หน่อย” เราก็พูดปกตินะ แต่กลายเป็นว่าเหมือนเราแรง หลายๆ คนไม่เข้าใจว่า เราไปทำลายความตั้งใจเด็ก ซึ่งในหัวใจของเราไม่ได้เป็นแบบนั้น ไม่ได้ไปพูดทำลายหรือทำร้ายอะไรเด็ก แต่พูดทุกครั้ง พูดให้เขาเปลี่ยนและพัฒนา”   สรุปแล้วความสุขของ อิน บูโดกัน อยู่ตรงไหน? “ เอาตรงๆ นะเราทำงานอะไรก็ได้ที่เรามีความสุข เราอยากทำงานบุญ เราทำ เราอยากทำงานได้ตังค์มาเลี้ยงตัวเรา เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่เรา เราทำ อะไรที่ไม่เหลือบ่ากว่าแรง แต่ผ่านพ้นการทำงานแบบไม่มีความสุขมาแล้ว เพราะฉะนั้นปัจจุบันนี้เราทำงานทุกอย่าง เราต้องมีความสุข ถ้างานเข้ามาแล้วมันไม่ใช่เรา ทำแล้วไม่มีความสุข เราก็เลือกที่จะไม่ทำ เราเลือกอยู่บนพื้นฐานทำงานแบบมีความสุข ได้เงินน้อยเราก็ไม่ว่า ไม่ได้เงินเราก็ไม่ว่า แล้วแต่จะให้เราก็ไม่ว่า แต่ต้องเป็นงานที่เราคิดว่าทำแล้วมีความสุขแน่ๆ” “งานที่มีความสุขคือการสอนเด็ก สอนเด็กวัด สอนเด็กด้อยโอกาส สอนร้องเพลง ไม่ได้ค่าตอบแทนเราก็ไปให้ อย่างล่าสุดที่จะเห็นคือโครงการ Playing Forward ซึ่งมี เจมส์-จิรายุ ทำเพลงเป็นซิลเกิ้ลแรกในชีวิต ซึ่งทุกคนในทีมงาน ไม่มีใครได้ตังค์เลย ทุกคนไปทำเพื่อเสียสละเวลาที่ว่างเพื่อไปทำ เราก็ไปเทรนด์ เจมส์ จิ ร้องเพลง ไปคุมร้องที่ห้องอัดเลย เพื่อเอาเพลงนี้ไปไว้ใน Play Forward ให้คนไปโหลดซื้อ โหลดปุ๊บ เสียตังค์ปุ๊บ คนซื้อก็คลิกเลยไปว่า คุณอยากทำบุญให้กับที่ไหน หรือมูลนิธิไหน สมมติเพลงของเจมส์ จิ 50 บาท มีให้เลือก เช่น มะเร็งปากมดลูก 20 บาท หรือช่วยเด็กกำพร้า 20 บาท เหลืออีก 10 บาท เอาไปช่วยคนแก่ คุณก็คลิกไปเลย และเรารู้สึกว่าเรามีส่วนร่วมกับตรงนี้ เรามีความสุขมาก ดีใจมาก”   ร่วมงานกับ “เจมส์ จิรายุ” เป็นอย่างไรบ้าง “ตอนแรกไม่รู้จัก ใครคือ เจมส์ จิ หรือ เจมส์ จิ คือใคร ไม่เคยดูละคร เพราะเราเป็นคนทำงานกลางคืน ละครไม่เคยดู เราก็ไปช่วยเทรนด์ ไปคุมร้อง เขาก็โอเค.นะ ให้ร้อง 100 รอบ เขาก็ตั้งใจทำ”   ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นความสุขของผู้หญิงเก่งที่ชื่อ อินทิรา ยืนยง...!!! “ปรางค์ ปิ๊กมี่”   

                             


ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก เดลินิวส์-ข่าวบันเทิง

 
แชร์บทความ...
โค้ดแบบ forum
(BBCode)
โค้ดแบบ site/blog
(HTML)