ผู้เขียน หัวข้อ: แท็บเล็ต,สมาร์ทโฟนรุ่ง"วินโดวส์พีซี"ร่วง  (อ่าน 645 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ RobotNew

  • Moderator
  • *****
  • กระทู้: 3411
  • Level:
    0%
  • Thank : 0
    • ดูรายละเอียด
    • สะกิดข่าว
    • อีเมล์
บริษัทวิจัยเตือน ตลาดพีซียังคงตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่"แท็บเล็ต" จะมียอดขายแซงหน้าเดสก์ทอป และโน้ตบุ๊ครวมกันภายในปี 2015 (อีกแค่สองปี) โดยระบบปฏิบัติการ Android กำลังจะเข้ามาแทนที่ระบบปฏิบัติการ Windows ของไมโครซอฟท์ในอนาคตอันใกล้                                                                                     

การ์ทเนอร์กรุ๊ป บริษัทวิจัยเผย ไมโครซอฟท์กำลังจะต้องเผชิญกับปัญหาอย่างหนักภายใน 4 ปีข้างหน้า หากไม่สามารถเจาะตลาดสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตได้สำเร็จ เนื่องจาก ตลาดพีซีจะยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งคาดการณ์ว่า การเปลียนแปลงอย่างรุนแรง และรวดเร็วกำลังจะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมนี้อีกด้วย ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากการที่ผู้บริโภคหันไปใช้แท็บเล็ตแทนคอมพิวเตอร์ ดังจะเห็นได้จากแนวโน้มการเติบโตของอุปกรณ์ Android ที่กำลังจะแย่งชิงตลาดส่วนใหญ่ไปจากวินโดวส์พีซีภายในปี 2017 โอเอสของไมโครซอฟท์จะหดตัวอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนนับตั้งแต่ปี 1980 โดยถูกแทนที่ด้วย Android และ iOS

 ทั้งนี้ในการทำนายล่าสุดจากผลวิจัยตลาดที่มีการเผยแพร่เมื่อวันพฤหัสทีผ่านมา การ์ทเนอร์กล่าวว่า ยอดการวางตลาดของแท็บเล็ตในปี 2015 จะมากกว่ายอดรวมของพีซีทั้งเดสก์ทอป และโน้ตบุ๊ครวมกัน โดยในส่วนของระบบปฏิบัติการจะกลายเป็น Android ของ Google และ iOS ของ Apple ที่เข้ามาครองตลาดแทน โดยเฉพาะ Android จะได้รับการติดตั้งเข้าไปในอุปกรณ์ต่างๆ มากกว่าพันล้านชิ้นภายในปี 2014 ส่วนทางด้านพีซีดีไซน์ใหม่อย่าง Ultramobile อย่างเช่น Surface Pro และเหล่าบรรดาอัลตร้าบุ๊คที่เน้นดีไซน์บางเบาจะได้รับความสำคัญก็ต่อเมื่อผู้ใช้ต้องการทำงานนอกสถานที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การหดตัวของตลาดพีซีอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่พีซีดีไซน์ใหม่ยังเติบโตไม่เร็วนักย่อมส่งผลต่อตลาดโอเอสอย่าง Windows ด้วย ทั้งนี้ การ์ทเนอร์เตือนว่า การเจาะตลาดแท็บเล็ต และมือถือสมาร์ทโฟนให้เป็นผลสำเร็จ โดยมีส่วนแบ่งตลาดที่ชัดเจน ถือเป็นภารกิจสำคัญของไมโครซอฟท์ในการที่จะอยู่ในตลาดต่อไป เพราะไม่แน่ว่า ในอนาคต Office ของไมโครซอฟท์อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีทีสุดในการทำงานของผู้บริโภคก็ได้

ทั้งนี้ไมโครซอฟท์มีรายได้หลักมาจากลิขสิทธิ์การใช้งาน Windows และ Office แต่ในขณะที่ไมโครซอฟท์ครองตลาดพีซี บริษัทกลับอยู่อันดับสามในตลาดสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ซึ่งตัวเลขล่าสุด Windows Phone โอเอสบนมือถือของไมโครซอฟท์มีส่วนแบ่งตลาดแค่ 3% ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2012 เทียกบับ 20% ของ iPhone ของ Apple และ 70% ของ Android ซึ่งในกรณีของ Android จำนวนเครื่องมากกว่า 50% เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ของ Google และ 20% ถูกใช้ในจีนไม่ได้เชื่อมต่อกับบริการของ Google การ์ทเนอร์ยังระบุอีกว่า ประเด็นทีน่าสนใจเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ที่มาจากพฤติกรรมของผู้บริโภค ผู้ใช้บางรายคิดว่า มันก็เหมือนกับปรากฎการณ์ที่ผู้ใช้ย้ายจากเดสก์ทอปไปโน้ตบุ๊คที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นปี 2000 แต่สำหรับการเกิดตลาดแท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบไฟลามทุ่งที่รวดเร็วกว่ามาก ผู้บริโภคต้องการโอเอส และแอพทีสามารถตอบทุกสิ่งอย่างกับพวกเขาบนอุปกรณ์โมบายที่ให้ข้อมูลได้ตลอดเวลา ซึ่งแน่นอนการพกโน้ตบุ๊ค อัลตร้าโน้ตบุ๊ค หรือแม้แต่เซอร์เฟสติดตัวในทุกวันนี้ และอนาคตดูเหมือนจะไม่ใช่คำตอบสำหรับพวกเขา โดยเฉพาะในยุคที่ผู้คนต้องการบริโภคข่าวสารมากกว่าผลิตข่าวสาร

 ปัญหาหลักของไมโครซอฟท์ก็คือ ผู้ใช้ที่ยังไม่ได้เป็นเจ้าของพีซีวันนี้ อย่างเช่น ตลาดเกิดใหม่อย่างแอฟริกา และจีน พวกเขามองว่า สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต คือ  "คอมพิวเตอร์" เครื่องแรก พวกเขาเริ่มใช้อุปกรณ์พวกนี้ ไม่ใช่พีซี และเมื่อพวกเขาต้องการอุปกรณ์ทีใหญ่กว่าแทนการใช้งานสมาร์ทโฟน ซึ่งหมายถึงแท็บเล็ต หรืออุปกรณ์อัลตร้าโมบาย แน่นอนว่า อุปกรณ์ที่ทำงานด้วยระบบปฏิบัติการ Android หรือ iOS คือสองทางเลือกที่พวกเขามองหา ไม่ใช่ Windows ที่ไม่มีความคุ้นเคยมาก่อน ไมโครซอฟท์ยังต้องเผชิญกับปัญหานักพัฒนาที่ต้องการทำแอพบนแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้มากกว่าอีกด้วย และนั่นไม่ใช่ Windows ซึ่งในปี 2017 จำนวนอุปกรณ์ที่ทำงานด้วย iOS ทั้ง iPhone และ iPad จะเท่าๆ กับ Windows และ Windows Phone รวมกัน ซึ่งตัวเลขนี้คาดการณ์ภายใต้สถานการณ์ที่ Apple เลือกที่จะไม่ทำ iPhone ราคาถูก แต่ถ้าตลาดนี้เกิดขึ้นจริง ภัยคุกคามที่น่ากลัวสำหรับไมโครซอฟท์จะคืบคลานเข้ามาเร็วกว่าที่คาด                                                                                                                                                                               


ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

ข่าวไอที ทิป-เทคนิค คอมพิวเตอร์

 
แชร์บทความ...
โค้ดแบบ forum
(BBCode)
โค้ดแบบ site/blog
(HTML)