ผู้เขียน หัวข้อ: ระบบประชุมทางไกลเสมือนจริงจับมือได้  (อ่าน 954 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Warden

  • Moderator
  • *****
  • กระทู้: 5000
  • Level:
    0%
  • Thank : 4
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • sakidkao
[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] เมื่อวานนี้เพิงจะแนะนำโปรเจ็กต์ Galileo ที่ใช้ iPhone กับอุปกรณ์ iOS สื่อสารผ่านเน็ตในรูปแบบของระบบประชุมวิดีโอทางไกลเสมือนจริง หรือ Telepresense โดยคุณสามารถแสดงตัวตนบนหน้าจอ พร้อมทั้งควบคุมมุมมองด้วยกล้องหน้าของ iPhone/iPod Touch ที่ปลายทางได้ ราวกับอยู่ในสถานที่นั้นจริงๆ แต่นั่นก็แค่การมองเห็น ล่าสุดนักวิจัยในญี่่ปุ่นได้พัฒนาเทคโนโลยี Telepresense (การปรากฎตัวทางไกล) ทีเป็นอะไรมากกว่าแค่การมองเห็นกันและกัน แต่มันเป็นหุ่นยนต์ที่มาพร้อมกับ"มือ"ที่สัมผัส shake hand เพื่อสร้างความรู้สึกกระชับมิตรได้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น



เว็บไซต์ Diginfo ได้นำเสนอเทคโนโลยี Telepresense ที่ล้ำหน้ากว่าระบบการแสดงตัวตนเสมือนจริงทั่วไป โดยเพิ่มส่วนกลไกของ"มือกล"ที่ควบคุมได้เข้าไป ซึ่งนอกเหนือจากการแสดงตัวตนของคุณผ่านระบบวิดีโอได้แล้ว คุณยังสามารถควบคุม"มือ"ดังกล่าว ในการสัมผัส shake hand จากต้นทางได้อีกด้วย ทั้งนี้นักวิจัยผู้พัฒนาระบบฯ แสดงความคิดเห็นสำหรับไอเดียของการเพิ่ม "มือกล" ที่ขยับได้ว่า การทำให้ผู้ใช้ระบบ Telepresense สามารถรับรู้สัมผัสได้จริงๆ มากกว่าแค่การมองเห็นซึ่งกันและกัน ในลักษณะนี้จะทำให้ผู้ใช้รู้สึกดีขึ้น ซึ่งนอกจากจะมือดังกล่าวจะจับกับมือเราได้เหมือนมือจริงๆ แล้ว (ทั้งต้นทาง และปลายทางจะได้ความรู้สึกเหมือนจับมือกัน ???) ทางนักวิจัยยังเพิ่มอุณหภูมิเข้าไปในมือสัมผัสด้วย เพื่อให้รู้สึกอบอุ่นเหมือนจับมือคนจริงๆ (ตอนแรกใช้ 32 องศาเซลเซียส แต่ไม่รู้สึก ทางทีมพัฒนาจึงเพิ่มเป็น 37 องศาฯ)

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=mTjUamTF8xk" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=mTjUamTF8xk</a>

เทคโนโลยี Telepresense ที่มาพร้อมมือกลไว้สำหรับเชคแฮนด์นี้เป็นผลงานของวิศวกรมหาวิทยาลัยโอซาก้าในประเทศญี่ปุ่น โดยตั้งเป้าความสำเร็จของมือกลทีเพิ่มเข้ามาว่า มันจะต้องสามารถจับมือได้เหมือนมนุษย์ ซึ่งรวมถึงความอุ่น และผิวสัมผัสที่ไม่แข็งกระด้างเหมือนจับมือหุ่นยนต์ เรียกได้ว่า ทำให้ใกล้เคียงกับความรู้สึกถึงการได้สัมผัสมือจริงๆ ให้มากที่สุด เอ่อ...ว่าแต่ ถ้าคณผู้อ่านเว็บไซต์ arip ต้องเจอกับเจ้าระบบนี้จริงๆ คุณจะกล้าจับมือกับมันไหมครับ?

ที่มา : arip

 
แชร์บทความ...
โค้ดแบบ forum
(BBCode)
โค้ดแบบ site/blog
(HTML)